บทที่ 3 จังหวะ (ฺBeat)
บทที่แล้ว เราพูดคุยกันในเรื่องของการบันทึกโน๊ตที่เกี่ยวข้องกับระดับของเสียง แต่ดนตรีจะเกิดได้นั้น มีองค์ประกอบส่วนเกี่ยวข้องของระยะเวลา เพราะเสียงทุกเสียงย่อมมีความยาวเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ แต่ความยาวนั้นก็เป็นแค่องค์ประกอบหนึ่ง เพราะเรื่องของจังหวะ มีหลายมุมและมิติต่างๆที่ซับซ้อน และเป็นส่วนประกอบสำคัญของวิชาดนตรี
สารบัญ บทที่ 3
3.1 สัญลักษณ์แสดงลักษณะจังหวะ
ลักษณะของจังหวะ (Rhythm) เป็นตัวกำหนดความสั้น-ยาว ของเสียงในแต่ละตัวโน๊ต โดยจะปรากฏพร้อมกันบนตัวโน๊ต ซึ่งนักดนตรีหรือผู้เล่นจำเป็นต้องอ่านพร้อมๆกัน โดยสัญลักษณ์ที่เราจะแทนนั้น คือ ตัวโน๊ต (Note) และ ตัวหยุด (Rest) โดยตัวโน๊ตใช้แทนเสียง และตัวหยุดใช้แทนความเงียบ เนื่องจากทั้งสองส่วนนั้นเป็นองค์ประกอบของดนตรีนั่นเอง
3.1.1 ตัวโน๊ต (Note)

ในบทนี้เป็นการอธิบายส่วนต่อขยายของบทที่ 2 ที่เกี่ยวข้องกับตัวโน๊ต โดยองค์ประกอบของตัวโน๊ตจะมีดังนี้
- หัวโน๊ต (Note Head) หัวโน๊ตมีสองประเภทที่เราจะเจอ คือ โน๊ตหัวขาว และโน๊ตหัวดำ เป็นส่วนที่แสดงระดับเสียง หัวโน๊ตจะคาบหรืออยู่ในช่องบรรทัดใดก็ได้ กรณีหัวโน๊ตเป็นสีดำ จะต้องมีก้านโน๊ตติดอยู่ด้วยเสมอ
- ก้านโน๊ต (Note Stem) เป็นลักษณะเส้นตรง แนวตั้ง ลากออกมาจากข้างหัวโน๊ต การชี้ขึ้น หรือลงนั้น ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตัวโน๊ตอยู่ในบรรทัด โดยถ้าตัวโน๊ตอยู่ที่บรรทัดที่ 3 หรือต่ำกว่า ก้านโน๊ตจะชี้ขึ้น และถ้าสูงกว่า ก้านโน๊ตจะชี้ลง แต่หากอยู่กึ่งกลางบรรทัดห้าเส้น จะชี้ขึ้นหรือลงก็ได้ โดยหลักการลากตำแหน่ง หากชี้ขึ้น จะอยู่ทางด้านขวาของตัวโน๊ต หากชี้ลง จะอยู่ทางด้านซ้ายของตัวโน๊ต ความยาวของก้านโน๊ต จะอยู่ที่ 4 ช่อง ของบรรทัด 5 เส้น ยกเว้นโน๊ตที่ติดเส้นน้อย ก้านจะลากยาวจนบรรจบที่เส้นกลางของบรรทัดห้าเส้นเสมอ
- เขบ็ต (Flag) คือ ส่วนเสริมจากก้านของตัวโน๊ต ใช้กับตัวโน๊ตสีดำ โดยจะมีกี่ชั้นก็ได้ แต่ที่นิยมคือ หนึ่งชั้น สองชั้น …. และไม่เกินสี่ชั้น โดยหากในกลุ่มจังหวะใดมีเขบ็ตหลายตัว สามารถใช้ เส้นรวมเขบ็ต (Beam) เป็นตัวรวมชุดเขบ็ตเข้าด้วยกัน โดยเส้นรวบเขบ็ต จะมีความหนามากกว่าก้านโน๊ตเสมอ โดยหากเขบ็ตมีจำนวนไม่เท่ากัน ให้ยึดของตัวที่น้อยที่สุดเป็นหลัก และหากก้านโน๊ตคนละทิศทางกัน ให้ปรับให้ชี้ทิศทางเดียวกันทั้งหมด และการเฉียงของเส้นรวบเขบ็ต จะอยู่ที่ 1 ช่องของบรรทัดห้าเส้น โดยก้านโน๊ตที่ใช้เป็นหลัก คือก้านของตัวที่ยื่นมากที่สุดในกลุ่มชุดตัวโน๊ตนั้น
3.1.2 ตัวหยุด























มีทั้งหมด 3 ลักษณะ ดังนี้
- ตัวหยุดแบบขีด มี 2 แบบ คือ ตัวหยุดแบบขีดแนวนอน และตัวหยุดแบบขีดแนวตั้ง โดยแบบแนวนอนมี 2 ตำแหน่ง คือ ใต้บรรทัดที่ 4 หรือ บนบรรทัดที่ 3
- ตัวหยุดแบบเลขเก้าไทย อยู่กลางบรรทัดห้าเส้นเสมอ
- ตัวหยุดแบบเลขเก้าฝรั่ง อยู่กลางบรรทัดเสมอเช่นกัน แต่สามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างตามค่าของจังหวะ
3.2 ค่าตัวโน๊ต
เนื่องจากตัวโน๊ตมีหลากหลายลักษณะ มีค่าและความสั้นยาวไม่เท่ากัน จึงเกิดการอธิบายลักษณะต่างๆ และชื่อ ดังนี้ (สามารถดูลักษณะได้ตามภาพประกอบ)
- โน๊ตตัวกลมดับเบิล (Double Whole Note, Breve) อ่านว่า บรีฟ, เบรเว
- โน๊ตตัวกลม (Whole Note, Semibreve)
- โน๊ตตัวขาว (Half Note, Minim)
- โน๊ตตัวดำ (Quarter Note, Crotchet)
- โน๊ตเขบ็ตหนึ่งชั้น (Eighth Note, Quaver)
- โน๊ตเขบ็ตสองชั้น (Sixteenth Note, Semiquaver)
- โน๊ตเขบ็ตสามชั้น (Thirty-Second Note, Demisemiquaver)
โดยในแต่ละลำดับขั้น ตัวโน๊ตมีค่าเป็นสองเท่าในขั้นถัดไปเสมอ เช่น ตัวกลม 1 ตัว เท่ากับ ตัวขาว 2 ตัว หรือ ตัวดำ 1 ตัว เท่ากับ เขบ็ตหนึ่งชั้น 2 ตัว เป็นต้น (หากชั้นเขบ็ตมากกว่านั้นก็ทำเช่นเดียวกัน) สามารถดูข้อมูลตามภาพประกอบได้ดังต่อไปนี้























หมายเหตุ ชื่อเรียกที่ใช้เรียกตัวโน๊ต มี 2 ระบบหลัก คือ ระบบอเมริกัน กับ ระบบอังกฤษ (ชื่อแรก, ชื่อที่สอง) ซึ่งที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือระบบอเมริกัน เพราะสื่อสารได้ดีกว่า โดยระบบอเมริกัน จะใช้เป็นสักษณะของการแบ่งส่วน เช่น ตัวกลม Whole แบ่งไปตัวขาวสองตัว เลยกลายเป็น Half จากตัวขาวไปตัวดำ คือ Quarter โดยหลักการคิดคือ เอาตัวกลมมาแบ่งส่วน จะได้ชื่อโน๊ตตามสัดส่วนของที่แบ่งได้ เป็นต้น
หมายเหตุ 2 ปัจจุบันเราไม่ใช้โน๊ตตัวกลมดับเบิลแล้ว (ตัวกลมกับเบิล มีค่าเท่ากับ ตัวกลม 2 ตัว)
3.3 ค่าตัวหยุด
- ตัวหยุดโน๊ตตัวกลมดับเบิล (Double Whole Rest, Breve Rest) ลักษณะเป็นตัวหยุดแบบขีดแนวตั้ง
- ตัวหยุดโน๊ตตัวกลม (Whole Note Rest, Semibreve Rest) ลักษณะเป็นขีดแนวนอนใต้บรรทัดที่ 4
- ตัวหยุดโน๊ตตัวขาว (Half Rest, Minim Rest) ลักษณะเป็นขีดแนวนอนบนเส้นบรรทัดที่ 3
- ตัวหยุดโน๊ตตัวดำ (Quarter Rest, Crotchet Rest) ลักษณะเป็นเลขเก้าไทย แต่อาจจะเจอในลักษณะเลขเก้าฝรั่งกลับข้าง
- ตัวหยุดโน๊ตเขบ็ตหนึ่งชั้น (Eighth Rest, Quaver Rest) ลักษณะเป็นเลขเก้าฝรั่ง มีหัวหนึ่งชั้น
- ตัวหยุดโน๊ตเขบ็ตสองชั้น (Sixteenth Rest, Semiquaver Rest) ลักษณะเป็นเลขเก้าฝรั่ง มีหัวสองชั้น
- ตัวหยุดโน๊ตเขบ็ตสามชั้น (Thirty-Second Rest, Demisemiquaver Rest) ลักษณะเป็นเลขเก้าฝรั่ง มีหัวสามชั้น
นอกเหนือจากนี้ จะมีสิ่งที่เรียกว่า ตาเชท (Tacet) คือหยุดโดยไม่กำหนดจำนวนห้อง โดยผู้คุมวงจะให้สัญญาณกับผู้เล่นด้วยตนเอง และอีกแบบคือ หยุดแบบมีกำกับจำนวนห้อง จะเขียนได้ตามภาพประกอบ























3.4 การยืดค่าตัวโน๊ต
การยืดค่าตัวโน๊ตและตัวหยุด ทำได้ 3 วิธี ดังนี้
3.4.1 การประจุด
ค่าความยาวของโน๊ตหรือตัวหยุด สามารถยืดได้ด้วยการประจุดเข้าไปทางขวาของโน๊ตหรือตัวหยุด โดยการประจุดจะกระทำให้ค่าของโน๊ตหรือตัวหยุดที่ถูกประนั้น มากขึ้นอีกครึ่งหนึ่งของตัวที่ถูกประจุด ยกตัวอย่าง เช่น
- ตัวกลมประจุด เท่ากับ ตัวกลม+ตัวขาว
- ตัวดำประจุด เท่ากับ ตัวดำ+เขบ็ตหนึ่งชั้น
โดยการประจุด สามารถทำได้มากกว่า 1 จุด โดยค่าของจุดถัดไป จะมีค่าครึ่งหนึ่งของจุดก่อนหน้า (ตัวอย่างในภาพประกอบ) โดยสามารถทำได้ทั้งตัวโน๊ตและตัวหยุด























3.4.2 การใช้เครื่องหมายโยงเสียง (Tie)
เครื่องหมายโยงเสียง (Tie) คือ เส้นโค้งที่ลากเชื่อมระหว่างตัวโน๊ต 2 ตัว ที่มีระดับเสียงที่เท่ากัน โดยโน๊ตที่ถูกโยงเข้าหากันนั้น จะเล่นครั้งเดียว คือ เล่นเฉพาะโน๊ตตัวแรกเท่านั้น โดยจะลากยาวจนจบค่าโน๊ตตัวที่สองที่เส้นโยงลากไปถึง การใช้งานจะใช้งานในกรณีที่ตัวโน๊ตเสียงเดียวกันมีความยาวข้ามห้องเพลง หรือ สัญลักษณ์โน๊ตไม่สามารถแสดงค่าได้ และในกรณีที่ตัวโน๊ตติดเครื่องหมายแปลงเสียง โน๊ตตัวถัดไปที่โยงไปก็จะได้รับผลของเครื่องหมายแปลงเสียงนั้นด้วย และจะไม่ใช้กับตัวหยุด โดยโน๊ตที่จะใช้ต้องมีเสียงเดียวกันในระยะคู่แปดเดียวกันอีกด้วย























3.4.3 การใช้สัญลักษณ์เฟอมาตา (Fermata)
เฟอมาตา (Fermata) หรือ Pause เป็นเครื่องหมายมีลักษณะครึ่งวงกลมมีจุด อยู่เหนือตัวโน๊ตหรือตัวหยุด กรณีก้านโน๊ตชี้ขึ้น ก็สามารถอยู่ใต้ตัวหยุดได้ เฟอมาตา มีผลทำให้โน๊ตหรือตัวหยุดนั้น มีค่ามากกว่าค่าที่แท้จริง ส่วนจะยาวเท่าใด ขึ้นอยู่กับผู้เล่นหรอืผู้ควบคุมวงเห็นสมควร























3.5 การแบ่งย่อยจังหวะ
ตัวโน๊ตทุกตัวนั้น สามารถแบ่งย่อยจังหวะเป็นหน่วยที่เล็กลง เพื่อแสดงรายละเอียดการแจกแจงระยะเวลาของโน๊ตและตัวหยุดนั้นๆ โดยแบ่งเป็นสองประเภทดังนี้
3.5.1 การแบ่งย่อยจังหวะเป็นสอง
เป็นการแบ่งย่อยจังหวะตามปกติของตัวโน๊ตที่ไม่ประจุด จาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 …..























3.5.2 การแบ่งย่อยจังหวะเป็นสาม
เป็นการแบ่งย่อยจังหวะของโน๊ตที่ประจุดออกเป็น 3 ส่วน แต่ในการแบ่งย่อยขั้นต่อไป ก็จะกลับไปใช้แบ่งย่อยเป็นสอง เนื่องจากโน๊ตที่ถูกแบ่งนั้น ไม่ได้ประจุดแล้ว
ภาพประกอบ























3.6 เครื่องหมายประจำจังหวะ (Time Signature)
เมื่อตัวโน๊ตและตัวหยุดสามารถเปรียบเทียบค่าและสัดส่วนได้แล้ว แต่เรายังหาจังหวะที่แน่นอนไม่ได้ ซึ่งเราจะนับ หรือหาจังหวะที่แน่นอนได้ ต้องมีเครื่องหมายประจำจังหวะ หรือ Time Signature มากำกับเสียก่อน โดยจะมีด้วยกัน 2 ลักษณะดังนี้
3.6.1 เครื่องหมายประจำจังหวะแบบตัวเลข























เครื่องหมายประจำจังหวะแบบตัวเลข ประกอบด้วยสองส่วน คือ ตัวเลขตัวบน และตัวเลขตัวล่าง วางซ้อนกันอยู่บนบรรทัดห้าเส้น
- เลขตัวบน แสดงจำนวนจังหวะใน 1 ห้อง (ฺBar) ในวิชาการดนตรี เราจะมีส่วนการจัดระเบียบออกเป็นห้อง ซึ่งเพลงหนึ่งเพลง จะมีความยาวกี่ห้องก็ได้ ตัวอย่างคือ ถ้าตัวเลขข้างบนเป็น 2 หมายความว่าแต่ละห้องมี 2 จังหวะ ถ้าเป็น 3 ในหนึ่งห้องมี 3 จังหวะ เป็นต้น
- เลขตัวล่าง แสดงค่าของตัวโน๊ต และตัวหยุด โดยระบบการคิดเราจะนับโน๊ตตามการแบ่งอัตราส่วน โดยเริ่มจากโน๊ตตัวกลม มีค่าเป็น 1 และคูณ 2 ต่อกันไปเรื่อยๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- ตัวกลม 1
- ตัวขาว 2
- ตัวดำ 4
- เขบ็ตหนึ่งชั้น 8
เป็นต้น
ตัวอย่างการคิดจังหวะ ถ้าตัวเลขเป็น 2/4 แสดงว่า ในหนึ่งห้อง มี 2 จังหวะ และโน๊ตตัวดำ มีค่า 1 จังหวะ หรืออีกตัวอย่าง 8/32 ในหนึ่งห้องมี 8 จังหวะ และโน๊ตเขบ็ตสามชั้น มีค่าตัวละ 1 จังหวะ เป็นต้น
3.6.2 เครื่องหมายประจำจังหวะแบบสัญลักษณ์
เครื่องหมายแบบสัญลักษณ์มี 2 แบบ คือเป็นอักษรตัว C และ C cut (ตัวซีมีขีดคร่อมกลาง) ซึ่งมีค่า 4/4 และ 2/2 โดยตัว C ย่อมาจาก Common Time ซึง 4/4 คืออัตราธรรมดาที่เราคุ้นชินกันโดยทั่วไป























3.7 อัตราจังหวะ (Time)
ตัวโน๊ตทุกตัวนั้น สามารถแบ่งย่อยจังหวะเป็นหน่วยที่เล็กลง เพื่อแสดงรายละเอียดการแจกแจงระยะเวลาของโน๊ตและตัวหยุดนั้นๆ โดยแบ่งเป็นสองประเภทดังนี้
3.5.1 การแบ่งย่อยจังหวะเป็นสอง
เป็นการแบ่งย่อยจังหวะตามปกติของตัวโน๊ตที่ไม่ประจุด จาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 …..























3.5.2 การแบ่งย่อยจังหวะเป็นสาม
เป็นการแบ่งย่อยจังหวะของโน๊ตที่ประจุดออกเป็น 3 ส่วน แต่ในการแบ่งย่อยขั้นต่อไป ก็จะกลับไปใช้แบ่งย่อยเป็นสอง เนื่องจากโน๊ตที่ถูกแบ่งนั้น ไม่ได้ประจุดแล้ว
ภาพประกอบ























3.8 การเน้นเสียง
การเน้นเสียงนั้น จะเกิดขึ้นที่จังหวะใดจังหวะหนึ่งในห้องก็ได้ โดยมี 2 ประเภทดังนี้
3.8.1 การเน้นเสียงตามจังหวะใหญ่
เป็นการเน้นเสียงตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นสม่ำเสมอ และเหมือนกันในแต่ละห้อง โดยส่วนมากจังหวะที่ 1 จะถูกเน้นมากที่สุด (Strong Beat) ส่วนที่เหลือในห้องจะเป็นจังหวะเบา (Weak Beat) โดยถ้าจังหวะเบามีหลายจังหวะ ก็จะมีความสำคัญลดหลั่นกันไป เช่น ในอัตรา 2/4 จังหวะที่ 1 จะหนัก จังหวะที่ 2 จะเบา หรือใน 3/4 จังหวะที่ 1 จะหนัก 2-3 จะเบา แต่ 3 จะเบามากที่สุด























3.8.2 การเน้นเสียงเฉพาะที่
การเน้นเสียงเฉพาะที่ เกิดเฉพาะเจาะจงที่โน๊ตตัวใดตัวหนึ่ง หรือคอร์ดใด คอร์ดหนึ่ง โดยจะใช้การเน้นเป็น 2 แบบดังนี้
- เครื่องหมายเน้นเสียง
- ตัวอักษรเน้นเสยง (sf, sfz (Sforzando), fz (Forzando)























3.9 การแบ่งกลุ่มจังหวะ
การแบ่งกลุ่มของจังหวะ ต้องอาศัยความรู้เรื่องอัตราจังหวะ และจังหวะใหญ่ และยังต้องเข้าใจเรื่องกลุ่มของตัวโน๊ตที่สามารถจับกุ่มเข้าด้วยกันได้ โดยพอจะแบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ ดังนี้
3.9.1 การแบ่งกลุ่มจังหวะปกติ
เป็นการแบ่งกลุ่มตรง ตามจังหวะใหญ่ๆ และแบ่งส่วนย่อยอย่างตรงไปตรงมา เช่น ในจังหวะ 2/4 ก็แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 1 จังหวะ โดยโน๊ตตัวดำที่เป็นจังหวะใหญ่ สามารถแบ่งออกได้เป็นเขบ็ตหนึ่งชั้น 2 ตัว หรือเขบ็ตสองชั้น 4 ตัว หรือในจังหวะ 9/8 ที่โน๊ตตัวดำประจุดเป็นจังหวะใหญ่ สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีเขบ็ตหนึ่งชั้น 3 ตัว เป็นต้น ดังภาพประกอบ
โดยจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
- การรวมกลุ่มแบบเท่า คือ การรวมกลุ่มแล้ว กลุ่มนั้นมีค่าเท่ากับจังหวะใหญ่
- การรวมกลุ่มแบบไม่เท่า คือ การรวมกลุ่มแล้วโน๊ตที่รวมมีค่ามากกว่าจังหวะใหญ่























3.9.2 การแบ่งกลุ่มจังหวะยืม
เป็นการแบ่งกลุ่มจังหวะที่ตัวโน๊ตไม่ตรงตามจังหวะใหญ่ๆ และแบ่งส่วนย่อยออกเป็น 3 หรือ 5 จังหวะ หรือแล้วแต่จะแบ่ง โดยเป็นที่มาของโน๊ตประเภท สามพยางค์ (Triplet) หรือ ห้าพยางค์ เป็นต้น หรืออาจจะแบ่งพยางค์ได้มากกว่านั้น ตามแต่เห็นสมควร แต่ข้อบังคับหลักคือ เมื่อเกิดการแบ่งกลุ่มจังหวะยืมแล้ว ค่าในการเล่นต้องออกมาตรงกับจังหวะใหญ่ปกติ























3.10 การใส่ตัวหยุดตามกลุ่มจังหวะ
หลักการใส่ตัวหยดตามกลุ่มจังหวะ กระทำได้โดยการที่เราสามารถแบ่งกลุ่มของจังหวะได้เสียก่อน และทำการเติมเต็มจำนวนให้อัตรากลุ่มจังหวะนั้นสมบูรณ์ โดยถาในหน่วยนั้นมีการแบ่งย่อยในขั้นที่ละเอียดขึ้น ต้องเติมตัวหยุดในหน่วยเล็กให้สมบูรณ์เสียก่อน























3.11 การเน้นจังหวะที่ไม่ปกติ
จังหวะนั้น สามารถสร้างความรู้สึกที่แตกต่าง จากการเน้นจังหวะที่ไม่ปกติได้ โดยมีหลากหลายวิธี ดังนี้
3.11.1 จังหวะขัด (Syncopation)
จังหวะขัด (Syncopation) คือการเลือกเน้นในจังหวะเบา หรือที่เราเรียกว่าจังหวะยก ในขณะที่จังหวะหลักที่สำคัญ ถูกทำให้ด้อยค่าลงมา ดังตัวอย่าง























3.11.2 เฮมิโอลา (Hemiola)
เฮมิโอลา (Hemiola) เป็นเทคนิคการเน้นอัตราจังหวะในอัตราจังหวะสาม ให้เหมือนอัตราจังหวะสอง โดยมักเกิดเพียง 2-3 ห้อง ในเพลง ดังตัวอย่าง























3.12 การผสมผสานอัตราจังหวะ
ในหนึ่งบทเพลง โดยปกติเราจะนิยมใช้อัตราจังหวะเดียวกันทั้งเพลง แต่ปัจจุบัน เรามีการผสมผสานหลายอัตราจังหวะในหนึ่งเพลง โดยการผสมผสานอัตราจังหวะ ทำได้ดังนี้
3.12.1 การเปลี่ยนอัตราจังหวะ
การเปลี่ยนอัตราจังหวะ ทำได้โดยตัวอย่างเช่น เพลงหนึ่งเพลง เริ่มต้อนเพลงด้วยอัตราจังหวะ 2/4 พออีก 30 ห้องถัดมา ก็เปลี่ยนเป็นอัตราจังหวะ 3/4 เป็นต้น























3.12.2 การใช้หลากอัตราจังหวะ
การใช้หลากอัตราจังหวะ เกิดจากการเปลี่ยนอัตราจังหวะของเครื่องดนตรีบางชิ้นในหนึ่งเพลง ทำให้เครื่องดนตรี 2 ชั้น นั้นเล่นในคนละอัตราส่วนจังหวะกัน แต่อัตราส่วนจังหวะนั้นต้องสัมพันธ์กัน























หลังจากเราได้เรียนรู้บทที่ 3 เรื่องของจังหวะ เท่าให้เราสามารถบันทึกโน๊ตได้ครบ สมบูรณ์ ในบทถัดไป เราจะกล่าวกันถึงในเรื่องของบันไดเสียง เพื่อเรียนรู้องค์ประกอบของการเรียงเสียง เพื่อนำไปสู่การคิด วิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆทางดนตรีที่มากขึ้น
อย่าลืมทบทวนจะสรุปเนื้อหา และแบบฝึกหัดท้ายบทนะครับ
สรุปเนื้อหา
- เสียง เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ ส่งผ่านออกมาในลักษณะของคลื่นความถี่ เดินทางผ่านตัวกลางก็คือชั้นบรรยากาศ
- ระดับเสียง (Pitch) คือเสียง สูง-ต่ำ แบ่งโดยจำนวนการสั่นเป็นหน่วย รอบ/วินาที (Hertz)
- ความเข้มเสียง (Intensity) คือเสียง ดัง-เบา โดยดูจากความกว้างของคลื่นเสียงที่ส่งออกมา
- สีสันเสียง (Tone Color) คือ เสียงที่มาจากแหล่งกำเนิดเสียงที่ต่างกัน โดยเครื่องดนตรีแต่ละชนิด แม้จะมีความถี่ตรงกัน แต่ก็มีลักษณะคลื่นเสียงที่ไม่เหมือนกัน
- คุณภาพเสียง (Tone Quality) คือ สิ่งที่บ่งบอกว่าเสียงที่ออกมานั้น ดีมาก ดีน้อย ไพเราะหรือไม่ ส่วนนี้เป็นเรื่องของตัวบุคคล
- ความยาวเสียง (Duration) คือ การบอกระยะเวลาความสั้น-ยาว ของเสียงนั้น